ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้เปิดทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่เช้า 09.30 น. โดยเชิญตัวแทนและผู้ประกอบการ 3 กลุ่มในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) โดยมีนักธุรกิจกว่า 70 คนตบเท้าเข้าพบเพื่อถกแก้ปัญหาเศรษฐกิจของไทย
โดยการหารือครั้งนี้เป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ เป็นวงพูดคุยขนาดเล็กครั้งละกลุ่ม โดยการหารือครั้งนี้อยู่ในกรอบ 5 ประเด็นหลัก คือ 1.วิสัยทัศน์หรือมุมมองใน 3 ปีข้างหน้า โอกาสไทยในเวทีโลก 2.เรื่องสำคัญที่สุด 3 เรื่องที่ต้องการให้รัฐสนับสนุน 3.อุปสรรคที่สำคัญมากที่สุดที่ขัดขวางความสำเร็จ 4.กฎกติกาของภาครัฐที่เป็นอุปสรรค และ 5.หน่วยงานรัฐที่อยากเห็นการปฏิรูปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวการเปิดประชุมว่า การก้าวผ่านวิกฤติโควิดและวิกฤติเศรษฐกิจไปให้ได้นั้น ตนคิดว่าตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่เราควรมองไปในอนาคตที่ไกลกว่า และควรจะใช้ช่วงเวลานี้ให้เป็นโอกาสที่จะนำพาประเทศไทยให้ไปอยู่ในจุดที่ดียิ่งขึ้น โดยเหตุผลที่เชิญทุกคนมาเพื่อแบ่งปันมุมมอง ความคิด ในฐานะที่เป็นบุคคลที่สุดยอดในภาคธุรกิจมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ตรงมายาวนาน
“ผมอยากทราบว่า ท่านมีมุมมองหรือความคิดในการขับเคลื่อนภาคส่วนของท่านอย่างไร โอกาสของภาคธุรกิจเป็นอย่างไร อนาคต 3 ปีข้างหน้าภาคธุรกิจควรจะไปอยู่ที่จุดไหน อุปสรรคคืออะไร เป้าหมายของผมคือต้องการเข้าใจประเด็นหลักๆ และเข้าใจโดยลึกจากการฟังตรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากเมื่อเวลาผมพิจารณานโยบาย หรือโครงการที่หน่วยงานต่างๆนำเสนอ ผมจะสามารถตัดสินใจไปในแนวทางที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ของพวกท่านได้”
n “สุพัฒนพงษ์” จ่อนำข้อเสนอถกศบศ.ใน 2 สัปดาห์
ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯและ รมว.พลังงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้บริหารในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้เข้ามาหารือกับรัฐบาล โดยเสนอแนวความคิดที่มีประโยชน์ในหลายเรื่อง รวมทั้งยืนยันว่ากลุ่มผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศยังมีความต้องการซื้ออสังหา-ริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะช่วยสนับสนุน โดยภาคเอกชนได้ยื่นข้อเสนอหลายด้าน เช่น การสนับสนุนให้มีสินเชื่อสำหรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ ธนาคารพาณิชย์ มีความเข้าใจและปรับปรุงการให้สินเชื่อไปแล้วบางส่วน การเสนอปรับปรุงมาตร-การกำกับควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ด้วย รวมทั้งเป็นข้อเสนอเรื่องของการสนับสนุนเรื่องภาษี เรื่องผังเมือง และมีข้อเสนออื่นๆที่รัฐบาลจะต้องนำไปศึกษาและทำรายละเอียดเพิ่มเติม
“ส่วนแพ็กเกจกระตุ้นให้คนซื้อบ้านที่อยู่อาศัยเพิ่มจะมีหรือไม่ ยังให้รายละเอียดทั้งหมดไม่ได้ แต่ผมจะรีบทำมาตรการที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 (ศบศ.) โดยเร็วที่สุด คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ในการประชุม ศบศ.ครั้งหน้าจะนำมาตรการเข้าสู่การพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม การหารือในครั้งนี้ถือว่าเป็นข่าวดีที่รัฐบาลได้รับฟังจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความคิดที่เป็นบวกต่อโอกาสของไทยที่จะใช้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวนำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ”
ขอรัฐกระตุ้นคนไทยซื้อเพิ่ม-บ้านที่ 2 ของต่างชาติ
ทั้งนี้ นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ได้เสนอให้รัฐบาลลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนองที่อยู่อาศัยราคา 3 ล้านบาทแรกของทุกระดับราคา นอกจากนี้ ยังยื่นข้อเสนอให้ ธปท.ผ่อนปรนมาตรการกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) หลังจากที่เคยยื่นเรื่องไป ธปท.แล้วรอบหนึ่ง รวมทั้งจะผลักดันให้เกิดกฎหมายสิทธิการเช่าในที่อยู่อาศัยเพื่อให้ต่างชาติถือครองที่อยู่อาศัยในรูปแบบการเช่าระยะยาว จากเดิม 30+30 ปี เป็น 50+50 ปี และสามารถขายสิทธิการเช่ากรรมสิทธิ์ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการขายอสังหาฯ ระดับนานาชาติ
ขณะที่นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยถึงข้อเสนอที่อยากให้ภาครัฐสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง สนับสนุนเรื่องภาษีการโอนเปลี่ยนมือโครงการที่อยู่อาศัย เพื่อให้บริษัทที่ขายมีเงินสดไปใช้พยุงดำเนินธุรกิจต่อ ร่วมถึงจัดทำโครงการในลักษณะ “Thailand The Best Second” ดึงกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่มีกำลังซื้อเข้ามา ให้ไทยเป็นเหมือนบ้านที่ 2 ของคนทั่วโลก โดยอนุญาตวีซ่าให้ยาวนานขึ้น นอกจากนั้น ขอให้สนับสนุนให้คนไทยที่มีกำลังซื้อออกมาซื้อที่อยู่อาศัย โดยให้ออกมาตรการกระตุ้นในทุกระดับราคาสินค้า รวมถึงเสนอให้ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจมากขึ้น พูดคุยกับนักธุรกิจในพื้นที่ว่าติดขัดในจุดไหน ให้เหมือนเช่นเดียวกับตอนจัดการกับโควิด-19 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจในพื้นที่ขยับตัวได้เร็วขึ้น
ด้านนายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งที่นำเสนอนายกรัฐมนตรีวันนี้ เป็นการเสนอมาตรการยิงนกทีเดียว 3 ตัว คือด้านการท่องเที่ยว การลงทุน และการส่งออก อาทิ ขายอสังหาฯให้ชาวต่างชาติก็จะใช้อยู่อาศัย ทำธุรกิจเกิดการจ้างงาน ลงทุน โดยเมื่อเข้ามาบางรายคิดต่อยอดหาสินค้าในไทยส่งออกไปขายในประเทศของตน อีกทั้งสนับสนุนบ้านผู้สูงวัยชาวต่างชาติ ซึ่งจะมีทั้งการอยู่อาศัย การเดินทางท่องเที่ยว ทำให้มีการใช้จ่ายซื้อของ เข้าพักในสถานที่ต่างๆ รวมถึงคนกลุ่มนี้จะนิยมใช้สถานพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เสนอให้มีการออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคของผู้บริโภคภายในประเทศ ทั้งในส่วนการซื้อเพื่ออยู่อาศัย การซื้อเพื่อการลงทุน และลงทุนบ้านให้เช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย ทั้งมาตรการภาษี และมาตรการของภาคการเงินในเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อ รวมทั้งควรหาวิธีการจูงใจธนาคารต่างๆให้มีความต้องการอยากปล่อยสินเชื่อมากขึ้น นอกจากนั้น ไทยยังมีศักยภาพเป็นบ้านหลังที่สองของคนทั่วโลก และเป็นศูนย์กลางสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค และหากผลักดันได้สำเร็จจะส่งผลประโยชน์หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนของแรงงานต่างชาติระดับผู้บริหารเพิ่มการจ้างงาน เพิ่มรายได้ กำลังซื้อภายในประเทศ และเป็นผลต่อเนื่องต่อภาคธุรกิจต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นค้าปลีก การค้า โรงแรม ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ.
อ่านเพิ่มเติม...
"เปิด" - Google News
September 04, 2020 at 07:01AM
https://ift.tt/31TZoDo
นายกฯ เปิดทำเนียบถกเครียด “ทางออก” ประเทศ “บิ๊กธุรกิจ” ตบเท้าชงข้อเสนอกวิกฤติ - ไทยรัฐ
"เปิด" - Google News
https://ift.tt/3cla53G
No comments:
Post a Comment