Pages

Tuesday, July 28, 2020

เปิดเบื้องหลัง“จีน”เตรียมการส่งยานสำรวจดาวอังคาร - ฐานเศรษฐกิจ

tombolsakti.blogspot.com

เปิดเบื้องหลังจีนเตรียมการในภารกิจการสำรวจดาวอังคาร ด้วยยานสำรวจ “เทียนเวิ่น หมายเลข 1” เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

วันนี้ (28 พ.ค.63) พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเบื้องหลังการเตรียมการในภารกิจการสำรวจดาวอังคาร ของจีน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

1. ความสำเร็จของจีนในด้านอวกาศ เช่น โครงการสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ โครงการดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่ว  และวิศวกรรมระบบการบินอวกาศของจีน ฯลฯ ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการปูพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสำรวจดาวอังคาร ในขณะที่จีนได้ดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการบินอวกาศชั้นนอกตามหลักการความเสมอภาค การอำนวยประโยชน์แก่กัน

รวมทั้งการใช้ประโยชน์อย่างสันติ และการพัฒนาอย่างครอบคลุม จึงทำให้ภายในยานสำรวจดาวอังคาร “เทียนเวิ่น หมายเลข 1” ของจีน มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรป ศูนย์วิจัยการบินอวกาศแห่งชาติฝรั่งเศส และสำนักงานส่งเสริมการวิจัยแห่งออสเตรีย เป็นต้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจสนามแม่เหล็กและดินบนดาวอังคาร 


นอกจากนี้ ในด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอวกาศชั้นนอกนั้น จีนยังได้รับความช่วยเหลือจากอาร์เจนตินาอีกด้วย และก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน พ.ย.62 จีนได้จำลองการลงจอดโดยหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางอย่างช้าๆ บนดาวอังคาร พร้อมกับทดลองอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่อำเภอหวยหลาย มณฑลเหอเป่ย ซึ่งได้ทำให้จีนมีความมั่นใจต่อความถูกต้องในการออกแบบอย่างครบถ้วน 


2. ในที่สุด เมื่อวันที่ 23 ก.ค.63 เวลา 12.41 น. จีนก็ประสบความสำเร็จในการใช้จรวดขนส่งลองมาร์ช หมายเลข 5 นำส่งยานสำรวจดาวอังคาร “เทียนเวิ่น หมายเลข 1” จากสถานีปล่อยยานอวกาศเหวินชาง บนเกาะไห่หนาน ซึ่งอยู่ทางใต้ของจีน เข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จหลังจากใช้เวลาบิน 2,167 วินาที ถือเป็นก้าวแรกของจีนในการเดินทางสำรวจดาวอังคาร 


ทั้งนี้ ยานสำรวจดาวอังคารเทียนเวิ่นหมายเลข 1 จะใช้เวลา 7 เดือนจึงจะเข้าใกล้กับดาวอังคาร โดยคาดว่าจะเดินทางถึงดาวอังคารในเดือน ก.พ.64 หลังจากนั้นจะเลือกเวลาที่เหมาะสมในการลงจอดบนพื้นผิวอีกครั้ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่สำรวจดาวอังคารทางวิทยาศาสตร์ต่อไป


3. ข้อสังเกตต่อการสำรวจดาวอังคารของจีน 


     3.1 เนื่องจากโลกกับดาวอังคารมีระยะเวลาในการหมุนไม่เท่ากัน กล่าวคือ  1 ปีดาวอังคารคือ 687 วัน  โดยใน 26 เดือนจะมีครั้งเดียวที่ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลกมากที่สุดเพียง 62.07 ล้านกิโลเมตร และเดือนตุลาคมปีนี้ก็เป็นช่วงที่ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด  ดังนั้น ระหว่างนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะที่สุดกับการส่งยานสำรวจดาวอังคารเพื่อลดเวลาการเดินทาง รวมทั้งประหยัดเชื้อเพลิงและประหยัดต้นทุน    


     3.2 หากจีนประสบความสำเร็จตามที่คาดการณ์ไว้ จะทำให้จีนบรรลุเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ 3 ประการในภารกิจครั้งเดียว และจะเป็นครั้งแรกของโลกอีกด้วย กล่าวคือ 


(1) เป็นการสำรวจพื้นที่ทั้งหมดบนดาวอังคารอย่างสมบูรณ์จากการโคจรรอบดาวอังคาร


 (2) เป็นการลงจอดบนดาวอังคาร 


และ (3) เป็นการนำยานสำรวจลงไปสำรวจดาวอังคารเพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์


 

บทสรุป นับตั้งแต่ที่จีนประสบความสำเร็จในการส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2546 และล่าสุด เมื่อปีที่แล้ว จีนก็ได้กลายเป็นชาติแรกที่ประสบความสำเร็จในการลงจอดแบบ soft landing บนดวงจันทร์ด้านมืด ดังนั้น ในภารกิจการสำรวจดาวอังคารของจีนครั้งนี้ จึงใช้ยานสำรวจชื่อ “เทียนเวิ่น หมายเลข 1" ซึ่งแปลว่า “คำถามถึงสรวงสวรรค์” อันเป็นชื่อบทกวีจีนโบราณที่ยิ่งใหญ่ของ “ชวีย เหวียน" ผู้มีชีวิตในช่วง 340-278 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นหนึ่งในกวีคนสำคัญของชาวจีนโบราณ เพื่อเป็นสิริมงคลต่อความมุ่งมั่นของจีนในการยกระดับภารกิจด้านอวกาศ 


ทั้งนี้เนื่องจาก การสำรวจอวกาศไม่มีที่สิ้นสุด  และอย่าหยุดความฝันที่ยิ่งใหญ่  โดยจีนกำลังจะก้าวไปสู่การมีสถานีอวกาศที่เป็นของจีนเองภายในปี พ.ศ.2565
 


Let's block ads! (Why?)



"เปิด" - Google News
July 28, 2020 at 08:55AM
https://ift.tt/3jQhHjU

เปิดเบื้องหลัง“จีน”เตรียมการส่งยานสำรวจดาวอังคาร - ฐานเศรษฐกิจ
"เปิด" - Google News
https://ift.tt/3cla53G

No comments:

Post a Comment