ปัจจุบัน บ้านแถบชานเมืองกำลังเป็นที่ต้องการของชาวอังกฤษ เนื่องจากการเดินทางจากชานเมืองเข้าลอนดอนถือว่าสะดวกสบายมากขึ้น นั่งรถไฟความเร็วสูงใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็ถึงที่หมาย
"เราพบว่ามีคนเมืองจำนวนหนึ่งที่ต้องการย้ายออกมาข้างนอก และช่วงปิดเมืองก็ช่วยให้พวกเขาตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะการอยู่บ้านเป็นเวลานานทำให้พวกเขาต้องการความผ่อนคลายในพื้นที่ส่วนตัว เช่น การอยู่ในอพาร์ตเมนต์ที่มีระเบียงหรือบ้านแถบชานเมืองที่มีสวน" Aneisha Beveridge หัวหน้านักวิจัยของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเมืองแฮมตัน กล่าว
เธอยังเสริมอีกว่า ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ พวกเขาย้ายบ้านเพราะต้องการอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว ในบางกรณีก็ต้องหนีจากบรรยากาศเมืองที่วุ่นวาย แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ต้องการย้ายกลับเข้าลอนดอน
การย้ายหนีเมืองที่แออัดที่ประเทศอินเดียเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นชัดที่สุด เพราะการแพร่ระบาดของโรคที่หนักหน่วง ทำให้ต้องปิดเมือง ปิดร้านค้า รวมถึงไซต์ก่อสร้าง ทำให้คนตกงานและขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานย้ายถิ่น 139 ล้านคน ที่เคยเข้าเมืองเศรษฐกิจอย่างนิวเดลี มุมไบ และเมืองอื่นๆ ถูกบีบให้หนีตายออกจากเมืองที่ไม่มีทีท่าว่าจะเปิด Lockdown เมื่อไหร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะย้ายกลับบ้านเกิดที่รัฐอุตรประเทศ รัฐพิหาร รัฐราชาสถาน และรัฐมัธยประเทศ
พวกเขาเลือกวิธีการเดินทางกลับบ้านด้วยการเดิน ปั่นจักรยาน ขอติดรถไปตามเส้นทางบนถนนไฮเวย์ และทางรถไฟที่พวกเขาคุ้นเคยที่สุด โดยหอบหิ้วอาหาร ข้าวของจำเป็น
"พวกเขาอยากกลับบ้าน เพราะอย่างน้อยก็มีหลังคาคุ้มหัว มีอาหาร และได้อยู่ในชุมชนที่มีคนรู้จัก" Benoy Peter ผู้อำนวยการศูนย์การย้ายถิ่นและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าว
แต่การเดินทางครั้งนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อมีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวันจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ส่วนคนที่เดินเท้าในเส้นทางริมรถไฟหลายร้อยกิโลเมตรก็เสียชีวิตจากการถูกรถไฟทับ เพราะเผลอหลับจากความเหนื่อยล้า
แม้ช่วงต้นเดือนตุลาคม รัฐบาลจะออกหน้าช่วยเหลือแรงงานด้วยการจัดรถไฟขบวนพิเศษ พร้อมอาหารและน้ำดื่ม แต่ในความเป็นจริง กลับมีเสียงตัดพ้อจาก Krishna Mohan Kumar ว่า รัฐบาลอินเดียแทบไม่ได้ช่วยเหลือพวกเขา ตั๋วรถไฟยังต้องจ่าย ซึ่งราคาแพงมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อวันเสียอีก
"อาหารและน้ำดื่มที่ให้ เจ้าหน้าที่ใส่ถุงและโยนบนพื้น ทำให้ผู้โดยสารต้องรุมแย่งกัน ถ้าน้ำหมดระหว่างทางก็ต้องวิ่งลงจากรถไฟเพื่อลงไปหาแหล่งน้ำดื่มกันเอง...ตอนเราอยู่ในเมืองก็ดูแลเราเหมือนหมาจรจัด แต่พอขึ้นรถไฟ...ก็ไม่ได้หวังว่าเขาจะดูแลเราดีขึ้น"
แม้แรงงานจะเดินทางกลับบ้านเพื่อหาทางรอด แต่พวกเขาก็ต้องอยู่อย่างยากลำบาก ไม่มีอาหาร เผชิญกับภัยแล้ง เป็นเพียงแรงงานเกษตรกรรมที่ไร้ที่ดิน เป็นได้แค่ลูกจ้าง พวกเขาจึงถูกจัดให้เป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐ
แม้ปัจจุบัน อินเดียจะเริ่มคลายล็อกดาวน์ในบางเมือง สภาอสังหาริมทรัพย์อินเดีย (CREDAI) ได้เรียกกลุ่มแรงงานเดิมที่เคยออกนอกเมืองกลับมา ซึ่งบางส่วนก็เดินทางกลับมาบ้าง แต่...แรงงานบางกลุ่มก็ยังฝังใจกับความแร้นแค้นในช่วงปิดเมือง ทำให้ยังไม่ตัดสินใจว่าจะกลับเข้ามาทำงานหรือไม่
เห็นสภาพที่อินเดียแล้วรู้สึกน่าเห็นใจและหดหู่ ซึ่งตรงข้ามกับแดนอาทิตย์อุทัย เพราะรัฐบาลจูงใจให้คนที่ทำงานในโตเกียวย้ายออกจากเมืองตั้งแต่ปี 2561 จากนโยบายให้เงินอุดหนุน 3 ล้านเยน (8.8 แสนบาท) แก่คนที่ตัดสินใจย้ายไปอยู่เมืองอื่น
สาเหตุเพราะโตเกียวมีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 2,188 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตามสัดส่วนถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
อย่างไรก็ดี แม้รัฐบาลจะสนับสนุนให้คนกลับภูมิลำเนา แต่หนุ่มสาวชนบทก็ยังเลือกที่จะเสี่ยงโชคเข้าเมืองหลวง เพื่อโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงานที่ดี จนโตเกียวเริ่มรองรับประชากรมหาศาลไม่ไหว เห็นได้ชัดจากการแย่งรถสาธารณะ รถไฟ โรงพยาบาล และสาธารณูปโภค
ในขณะที่ ชานเมืองและชนบทกำลังจะเหลือแต่ผู้สูงอายุ โรงเรียนรกร้าง ที่ดินการเกษตรที่ขาดแรงงาน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลชินโซ อาเบะ จึงใช้แผนการฟื้นฟูชนบทเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการจูงใจกลุ่มธุรกิจให้ออกไปตั้งสำนักงานในเขตภูมิภาคอื่นๆ เพื่อไม่ให้ประชาชนกระจุกตัวอยู่แต่ในโตเกียว ส่งเสริมให้บริษัทมีนโยบายทำงานทางไกล และกระตุ้นให้เทศบาลชุมชนมีบทบาทในการสร้างแรงจูงใจดึงดูดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาอยู่อาศัย ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โรคระบาดของไวรัสนี้เองก็ส่งผลให้บางคนเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อการใช้ชีวิตในเมือง หันมาต้องการคุณภาพชีวิตที่ดี ใกล้ชิดธรรมชาติ
Jun Okumura ชาวโตเกียวที่เลือกย้ายออก กล่าวว่า การมีพื้นที่ส่วนตัวกว้างๆ ยิ่งกว่านั้นราคาบ้านและค่าครองชีพก็ทำให้ตัดสินใจย้ายไปอยู่นอกเมืองง่ายขึ้น การได้ทำงานจากที่บ้านและบริษัทลดวันเข้าออฟฟิศยิ่งทำให้การอยู่นอกเมืองเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
บางชุมชนมีการวางแผนล่อใจคนหนุ่มสาวให้กลับบ้านเกิดอีกครั้ง ด้วยการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม อาทิ เทศบาลเมืองคุโรชิมะ เสนอให้เงินอุดหนุน 85,000 เยน (25,000 บาท) ต่อคนต่อเดือน และยังช่วยออกค่าขนย้ายของเข้ามาในเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชั่นเสริมยิ่งไปคือรับเงินก้อนไปเลย 300,000 เยน (88,000 บาท) หรือเปลี่ยนเป็นวัวหนึ่งตัว
ส่วนที่เมืองสึวาโนเองก็มีแผนฟื้นฟูชุมชนเช่นเดียวกัน โดยตอนนี้ในเมืองมีประชากร 7,200 คน ซึ่งจำนวนลดลงกว่า 11.4% ในระยะเวลาห้าปีจนถึงปี 2553
Sugako Sugawa เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเมืองกล่าว “กลุ่มที่เลือกย้ายออกไปส่วนมากคือ ผู้หญิง ซึ่งมันสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทำให้คนในเมืองนี้แต่งงานน้อยลง และแทบไม่มีเด็กเกิดใหม่ ในขณะที่กลุ่มผู้สูงวัยก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นวิกฤติของโครงสร้างประชากร”
เทศบาลเมืองสึวาโนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีแผนการปรับปรุงเว็บไซต์ของเมืองโดยนำเสนอรายชื่อที่ดินหรือบ้านให้เช่าในราคาถูก ซึ่งต่ำสุดอยู่ที่ 30,000 เยน (9,000 บาท) ต่อเดือน หรือถ้าต้องการซื้อบ้านจะเริ่มต้นที่ 4 ล้านเยน (1.2 ล้านบาท) ทั้งยังให้เงินอุดหนุนหัวหน้าครอบครัว ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี 50,000 เยน (15,000 บาท) และคนอื่นๆ ในครอบครัวคนละ 25,000 เยน (7,000 บาท)
แผนการล่อใจนี้ส่งผลให้มีประชากรย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองสึวาโน จำนวน 1,148 คน ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงธันวาคมปี 2562 แต่น่าเสียดายที่ตัวเลขประชากรของเมืองยังคงลดลงเพราะมีคนย้ายออกจากเมืองจำนวน 1,374 คน ในช่วงเวลาเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงนี้ผู้คนจะย้ายออกนอกเมืองจำนวนมาก แต่มันก็ไม่ได้การันตีว่าพวกเขาจะย้ายออกไปอย่างถาวร เพราะโอกาสทางการศึกษา ความสะดวกสบาย อาชีพการงานที่มั่นคง สามารถสร้างฐานะได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ผู้คนกลับมาอยู่รวมกัน เพราะทุกคนล้วนอยากได้คุณภาพชีวิตที่ดี
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
ข่าวอื่นๆ:
"เปิด" - Google News
August 26, 2020 at 05:30AM
https://ift.tt/34zHVlw
หดหู่ กินอยู่แพง ต้องรอด เปิด 4 เมืองใหญ่ แรงงานหนีโควิด-19 - ไทยรัฐ
"เปิด" - Google News
https://ift.tt/3cla53G
No comments:
Post a Comment