ช่วงแรก เป็นการต่อสู้ระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์ ผลก็คือชาวยิวสามารถยึดครองพื้นที่เกือบทั้งหมดที่สหประชาชาติยกให้พวกเขา ทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพชาวปาเลสไตน์กลุ่มแรกขึ้น จากนั้นชาวยิวก็ประกาศก่อตั้งรัฐอิสราเอลในวันที่ 14 พ.ค. 2491 กลายเป็นรัฐยิวแห่งแรกของโลกในรอบ 2,000 ปี นำไปสู่สงครามช่วงที่ 2
อิสราเอลกำเนิดขึ้นบนโลกได้ไม่นาน ชาติเพื่อนบ้านชาวอาหรับ 5 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์, ซีเรีย, จอร์แดน, อิรัก และเลบานอน ก็ประกาศสงครามและบุกเข้าดินแดนที่เคยเป็นปาเลสไตน์ โดยตอนแรกคิดว่าจะสามารถเอาชนะประเทศน้องใหม่แห่งนี้ได้ง่ายๆ แต่สุดท้ายพวกเขากลับถูกตีโต้จนต้องถอยร่น
หลังต่อสู้กับมานานเกือบ 1 ปี สงครามครั้งนี้จบลงโดยที่ทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงหยุดยิงในปี 2492 โดยทรานส์จอร์แดน ควบรวมดินแดนซึ่งปัจจุบันคือ เขตเวสต์ แบงก์ และเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งรวมถึงเขตเมืองเก่า ขณะที่อียิปต์ควบรวมฉนวนกาซา ส่วนอิสราเอลได้พื้นที่ถึง 80% ของดินแดนปาเลสไตน์ยุคที่อังกฤษยึดครอง
สงครามดังกล่าวซึ่งถูกเรียกว่า ‘สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งที่ 1’ ทำให้ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 700,000 คน กลายเป็นผู้พลัดถิ่น หลายพันคนไปตั้งถิ่นฐานในฉนวนกาซา ขณะที่อีกจำนวนมากติดค้างอยู่ในค่ายผู้อพยพระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล และลูกหลานของพวกเขาก็ยังคงอยู่ที่นั่นจนถึงทุกวันนี้
กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ สุมไฟความขัดแย้ง
นับตั้งแต่สิ้นสุดสงคราม 6 วันในปี 2510 ซึ่งอิสราเอลยึดฉนวนกาซากับคาบสมุทรไซนายจากอียิปต์ รวมทั้ง เขตเมืองเก่าของนครเยรูซาเลม กับเขตเวสต์ แบงก์ ที่จอร์แดนครอบครองอยู่ และที่ราบสูงโกลันของซีเรีย ชาวปาเลสไตน์ก็เริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านอิสราเอลมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพื้นที่ที่อิสราเอลได้มา มีชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่กว่า 3 ล้านคน
ชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์ แบงก์ ก่อตั้ง ‘องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์’ (PLO) ขึ้นมา โดยมี นายยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นประธาน มีเป้าหมายเดียวคือยึดดินแดนปาเลสไตน์ที่อังกฤษเคยครอบครองคืนมา พวกเขาคอยก่อการร้ายโจมตีดินแดนและผลประโยชน์ของอิสราเอล รวมถึงก่อเหตุจับนักกีฬาชาวอิสราเอลเป็นตัวประกันที่การแข่งขันโอลิมปิกที่มิวนิก เมื่อ พ.ศ. 2515
ปีต่อมาเกิด ‘สงครามยมคิปปูร์’ อียิปต์กับซีเรียพยายามโจมตีอิสราเอลเพื่อทวงดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา ผลคือล้มเหลว ในปี 2525 อิสราเอลยกทัพบุกเลบานอนหลังการก่อตั้งกลุ่ม ‘ฮีซบอลเลาะห์’ องค์กรต่อต้านอิสราเอล และทิ้งทหารไว้ที่นั่นนานหลายสิบปี ในปี 2530 ที่เขตเวสต์ แบงก์ เกิดการลุกฮือของประชาชนปาเลสไตน์เป็นครั้งแรก ตามด้วยครั้งที่ 2 ในปี 2543 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่อิสราเอลถอนทหารทั้งหมดจากเลบานอน
หลังจากฉนวนกาซากลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของชาวปาเลสไตน์ ตามความตกลงออสโล พื้นที่แห่งนี้ก็ถูกกลุ่มการเมืองหัวรุนแรง ‘ฮามาส’ ซึ่งชนะการเลือกตั้งยึดครองในปี 2549 และใช้เป็นฐานในการโจมตีอิสราเอล จนเกิดการปะทะครั้งใหญ่ 3 ครั้ง คือ ปฏิบัติการ ‘Case Lead’ (พ.ศ. 2551-2552) กับ ปฏิบัติการ ‘Pillar of Defense’ (พ.ศ. 2555) โดยทั้ง 2 ฝ่ายยิงจรวดตอบโต้กัน
ในปี 2557 สมาชิกมีกลุ่มฮามาส 2 คน ลักพาตัวและฆาตกรรมวัยรุ่นอิสราเอล 3 ราย นำไปสู่การปะทะครั้งที่ 3 คือปฏิบัติการ ‘Protective Edge’ ปี 2557 กินระยะเวลานาน 7 สัปดาห์
ความพยายามเจรจาสันติภาพ
แม้ว่าอิสราเอลกับชาติอาหรับจะมีปัญหากันมาตลอด แต่บางประเทศในกลุ่มชาติอ่าวอาหรับ ซึ่งประกอบด้วย บาห์เรน, คูเวต, อิรัก, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และยูเออี ก็สานสัมพันธ์กับอิสราเอลแบบลับๆ โดยที่ต้องทำแบบเงียบๆ ก็เพราะอิสราเอลมีปัญหากับปาเลสไตน์
พวกเขายังพยายามแก้ปัญหาในภูมิภาคด้วยสันติวิธีหลายครั้ง โดยการเจรจาครั้งใหญ่ที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2520 เมื่อประธานาธิบดี อันวาร์ ซาดิต แห่งอียิปต์ เจรจากับอิสราเอล ที่แคมป์เดวิด โดยมีสหรัฐฯ เป็นตัวกลาง ผลการเจรจาครั้งนี้ทำให้อียิปต์เป็นชาติอาหรับประเทศแรกที่ ตกลงจะพัฒนาความสัมพันธ์กับอิสราเอลไปสู่ระดับปกติ ส่วนอิสราเอลตอบแทนโดยคืนพื้นที่ไซนายให้
ในช่วงระหว่างปี 2534-2536 รัฐบาลนอร์เวย์ เป็นตัวกลางเจรจาระหว่าง องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์ แบงก์ กับอิสราเอล จนบรรลุ ‘ความตกลงออสโล’ ในท้ายที่สุด ทำให้เกิดการก่อตั้งรัฐบาลแห่งชาติของปาเลสไตน์ในเวสต์ แบงก์ กับ ฉนวนกาซา แม้ปัญหาเรื่องที่อยู่ชาวยิวและกองกำลังความมั่นคงอิสราเอลในพื้นที่ทั้งสองยังไม่ได้รับการแก้ไขก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับหลายครั้งต้องจบลงด้วยความล้มเหลว หรือไม่สามารถไปต่อได้ เพราะหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่เป็นมาตลอดหลายทศวรรษคือ อิสราเอลต้องยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อิสราเอลก็ไม่ยอม เห็นชัดจาก ‘แผนริเริ่มสันติภาพอาหรับ’ (Arab Peace Initiative) ในปี 2545 ซึ่งเรียกร้องให้อิสราเอลถอนตัวออกจากดินแดนปาเลสไตน์ที่ได้มาหลังสงคราม 6 วัน แลกกับการให้ชาติอาหรับยอมรับอิสราเอล
แต่ความเคลื่อนไหวล่าสุดระหว่าง อิสราเอล กับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) แสดงให้เห็นว่า อะไรๆ อาจไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เมื่อผลประโยชน์ต้องกัน หลักการที่ยึดถือมาตลอด ก็อาจไม่จำเป็น
ฝ่าทางตัน อิสราเอลฟื้นสัมพันธ์ยูเออี
เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 อิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศบรรลุข้อตกลงที่เรียกว่า ‘ความตกลงอับราฮัม’ ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นตัวกลางเจรจา โดยสัญญาจะฟื้นความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ทั้งธุรกิจ, การทูต, การท่องเที่ยว และอื่นๆ สู่ระดับปกติ ขณะที่อิสราเอลยอมระงับแผนการควบรวมพื้นที่บางส่วนของเขตเวสต์ แบงก์ เป็นของพวกเขาเอง เปิดทางเจรจาสันติภาพกับปาเลสไตน์
ข้อตกลงนี้ทำให้ ยูเออี กลายเป็นประเทศอาหรับชาติที่ 3 ต่อจากอียิปต์และจอร์แดน ที่จะฟื้นสัมพันธ์กับอิสราเอล และเป็นชาติสมาชิกอ่าวอาหรับชาติแรก ซึ่ง โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า นี่เป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ และคาดหวังว่าชาติอาหรับและชาติมุสลิมอื่นๆ จะเจริญรอยตาม ยูเออี
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เรียกเสียงประณามจากปาเลสไตน์ทันที พร้อมโจมตียูเออีว่าเป็นพวกทรยศ และเรียกตัวเอกอัครราชทูตกลับจากอาบูดาบี
มีโอกาสที่ชาติอาหรับอื่นๆ จะทำตามยูเออีหรือไม่?
หากถามว่า มีโอกาสหรือไม่ที่ประเทศอาหรับอื่นๆ จะเจริญรอยตามยูเออี คำตอบคือ มี แต่ไม่ใช่ทุกประเทศ และอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในภูมิภาคแห่งนี้
เช่น บาห์เรน กับ โอมาน ออกมาแสดงความยอมรับความตกลงอับราฮัม และชื่นชมยูเออีว่าเป็นผู้นำที่ชาญฉลาด โดยบาห์เรนเป็นประเทศอ่าวอาหรับที่เชื่อกันว่าจะทำตามยูเออีในไม่ช้า เพราะที่ประชุมสันติภาพตะวันออกกลางนำโดยสหรัฐฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม บาห์เรนส่งสัญญาณเปิดกว้างเรื่องการผูกสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับอิสราเอล
ด้านซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลักดัน แผนริเริ่มสันติภาพอาหรับ ไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับความตกลงอับราฮัม ทำให้นักวิเคราะห์มองว่านี่อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า มกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน สนับสนุนข้อตกลงนี้ แต่เลือกที่จะเงียบไว้ เพราะคิงซัลมาน พระราชบิดาของพระองค์ ไม่เห็นด้วยกับการฟื้นความสัมพันธ์กับอิสราเอล ก็เป็นได้ ส่วนอิหร่าน, กาตาร์ และตุรกี ต่างประณามความตกลงนี้ทั้งหมด และขู่จะเรียกทูตกลับจากอาบูดาบีด้วย
สำหรับเลบานอนคงฟื้นความสัมพันธ์กับอิสราเอลได้ยาก เนื่องจากยังมีความตึงเครียดกับกลุ่มฮีซบอลเลาะห์ เช่นเดียวกับ ซีเรีย ที่ปะทะกับอิสราเอลหลายครั้ง เรื่องที่ราบสูงโกลัน ที่ยังอยู่ในการปกครองของรัฐบาลยิว ขณะที่กับ อิรัก แม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีความตึงเครียดเรื่องชาวเคิร์ด แต่ทั้ง 2 ฝ่ายก็สร้างความสัมพันธ์ด้านการค้าและการข่าวกรองมานานแล้ว
อิหร่านที่คอยเป็นมิตรกับอิสราเอล ตอนนี้ถูกรัฐบาลยิวมองว่าเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงไปแล้ว ซึ่งเป็นมุมมองเดียวกับสหรัฐฯ ประเทศแรกที่ให้การยอมรับอิสราเอลเป็นประเทศ ขณะที่ตุรกีมีความสัมพันธ์ทางทหารอย่างไม่เป็นทางการกับอิสราเอล แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตุรกีพยายามเพิ่มบทบาทในภูมิภาคมากขึ้น ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มไม่ลงรอยกัน และตุรกีก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ประณามความตกลงอับราฮัมด้วย
ผู้เขียน: H2O
ที่มา: NewWorldEncyclopedia , WashingtonPost , History
"เปิด" - Google News
September 04, 2020 at 07:00AM
https://ift.tt/32Uu2fd
เปิดปม ความเป็นศัตรูระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับ เริ่มขึ้นจากจุดไหน - ไทยรัฐ
"เปิด" - Google News
https://ift.tt/3cla53G
No comments:
Post a Comment